ระบบเก็บข้อมูล
ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
ม.ราชภัฏรำไพพรรณี

หมายเหตุ

บัณฑิตที่มีงานทำแล้วโปรดให้หัวหน้าหน่วยงานของท่านประเมินความพึงพอใจ ตามแบบประเมินออนไลน์นี้ กรอกแบบสอบถามออนไลน์สำหรับหัวหน้าหน่วยงาน หรือ พิมพ์เอกสารแบบสอบถามสำหรับหัวหน้าหน่วยงาน ส่งไปรษณีย์มาที่สถาบันวิจัยและพัฒนา หมายเหตุ กรณีบัณฑิตเป็นเจ้าของกิจการ ทำธุรกิจส่วนตัว หรือเกษตรกร สามารถกรอกแบบสอบถามออนไลน์สำหรับหัวหน้าหน่วยงานด้วยตัวท่านเอง

ที่มาของโครงการ

ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้นำเสนอแผนทิศทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Roadmap) ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2548 ที่ประชุมมีมติให้อนุมัติและมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการเพื่อบูรณาการระบบเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Network Infrastructure) และผลักดันให้เกิดการบริการของภาครัฐในลักษณะ e-Services ในการนี้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้คุณภาพตามเป้าประสงค์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงได้จัดตั้ง “สำนักงาน EGA” ขึ้นเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อทำหน้าที่กำกับ ดูแลและรับผิดชอบงาน e-Government ของประเทศ รวมถึงการผลักดันให้เกิดการให้บริการของภาครัฐในลักษณะของ e-Services

สำหรับการพัฒนาระบบบริการของภาครัฐในลักษณะ e-Services นี้ จะมุ่งสู่การพัฒนาและส่งเสริมแต่ละกรม ให้มีระบบ บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Services) เพิ่มขึ้นได้อย่างน้อย 1 บริการ โดยในระยะแรกของการดำเนินการนี้จะมีหน่วยงานระดับกรมที่เข้าร่วมโครงการ และจะพิจารณาคัดเลือกบริการภาครัฐที่มีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ (Impact Factor) ไม่น้อยกว่า 200,000 รายต่อปีขึ้นไป สามารถพัฒนาให้เป็นระบบบริการ ภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ภายในกรอบเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งจะผลักดันให้มีระบบบริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อยปีละ 15 บริการ ในปีต่อ ๆ ไป

เพื่อให้ระบบบริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์สัมฤทธิ์ผลตามเป้าประสงค์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงมีความประสงค์ จะพิจารณาจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการพัฒนาระบบการจัดหางานของบัณฑิต ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งเป็นระบบที่ให้บริการในลักษณะ e-Services เพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้ประโยชน์ร่วมกันในด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการหางานทำของบัณฑิตและความต้องการด้านแรงงาน สำหรับผู้ประกอบการ ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  • 1. เพื่อพัฒนาระบบการจัดหางานของบัณฑิตผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  • 2. เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลความต้องการแรงงานบัณฑิตของผู้ประกอบการ
  • 3. เพื่อสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพการผลิตบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานประเทศ

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

  • 1. ประเทศไทยมีความชัดเจนในผลผลิตของสถาบันอุดมศึกษา ในสาขาวิชาต่าง ๆ ในแต่ละช่วงการผลิต (ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา)
  • 2. สถาบันอุดมศึกษาสามารถปรับกระบวนการผลิตบัณฑิตได้ตามความต้องการของสังคม ภาคเอกชนและตลาดแรงงาน
  • 3. สังคม ภาคเอกชน และตลาดแรงงาน สามารถวางแผนการพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีข้อมูลกำลังคนที่ถูกต้อง และรวดเร็ว
  • 4. ประชาชนสามารถทราบความต้องการของตลาดแรงงานและกำลังการผลิตบัณฑิตของประเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว